วิถีเมแทบอลิซึม

ปฏิกิริยาเคมีต่างๆในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอย่างมีลำดับ รวมเรียกว่า วิถีเมแทบอลิซึม โดยสารผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาหนึ่งจะเป็นสารตั้งต้นของอิกปฏิกิริยาหนึ่งต่อเนื่องกันไปจนได้ ส่วนผลิตภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งแต่ละปฏิกิริยาจะมีเอนไซม์ที่จำเพาะช่วยในการเร่งปฏิกิริยาดังรูป

           โดยทั่วไปเอนไซม์ชนิดหนึ่งๆ จะเร่งปฏิกิริยาเคมีได้เฉพาะอย่างเท่านั้น ดังนั้นในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จึงมีเอนไซม์หลายชนิดเพื่อเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆภายในเซลล์ ตัวอย่างวิถีเมแทบอลิซึม เช่นปฏิกิริยาในกระบวนการไกลโคลิซิสซึ่งเป็นการสลายกลูโคสที่มีปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอนและใช้เอนไซม์หลายชนิด ซึ่งจะได้ศึกษาปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ต่อไปในเรื่องการหายใจระดับเซลล์
          ในวิถีแมแทบบอริซึมหนึ่งๆ เมื่อสารผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีปริมาณมากเกินความจำเป็น กลไกหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมวิถีเมตาบอลิซึมคือ สารผลิตภัณฑ์สุดท้ายจะเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ โดยจะเข้าจับกับเอนไซม์ตัวแรกๆในวิถีเมตาบอลิซึม ทำให้เอนไซม์นั้นไม่สามารถจับกับสารตั้งต้นได้ส่งผลให้ปฏิกิริยาต่อไปในวิถีเมแทบอลิซึมหยุดชะงักลงดังรูป

           การเปลี่ยนแปลงของสารและพลังงานเป็นกระบวนการสำคัญของสิ่งมีชีวิต โดยสารต่างๆจะสะสมพลังงานอยู่ในพันธะเคมีปฏิกิริยาการสังเคราะห์และการสลายสารต่างๆของสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีซึ่งมีทั้งที่ดูดพลังงานและความร้อนเอนไซม์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเมแทบอลิซึมที่กล่าวมาขึ้นได้อย่างเหมาะสมหากขาดเอนไซม์แม้ตัวใดตัวหนึ่งไปจะทำให้ปฏิกิริยาหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนสารตั้งต้นเป็นสารผลิตภัณฑ์ได้และส่งผลต่อปฏิกิริยาในลำดับถัดไปจนอาจมีผลต่อการดำรงชีวิต

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต

สารอินทรีย์

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี