คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

  คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)


Øคาร์โบไฮเดรต เป็นคาร์บอนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ
Øประกอบด้วย C,H,O มีอัตราส่วนของอะตอม ต่อ เท่ากับ 2 :1 และมีสูตรโมเลกุลทั่วไปเป็น (CH2O)n  โดย มีค่าตั้งแต่ ขึ้นไป
Øแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
o   1.น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (MONOSACCHARIDE) มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 3-8 อะตอม มีรสหวาน เป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำ ได้แก่ ไรโบส กลูโคส  ฟรักโทส  และกาแลกโทส
o   2.โอลิโกแซคคาไรด์ (OLIGOSACCHARIDE) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2-10 โมเลกุล พบบ่อยมากที่สุด
o   3.น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (POLYSACCHARIDE) ประกอบด้วยกลูโคส   100-1,000 โมเลกุล มาต่อกันเป็นสาย ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจน เป็นต้น


1. Monosaccharide(โมโนแซ็กคาไรด์)
·       กลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในอาหารทั่วไป พบมากในผักและผลไม้สุก และในกระแสเลือด
v   กลูโคสที่พบในผลไม้สุก มีมาก ใน องุ่น เรียกว่า น้ำตาลองุ่น
v   คนปกติจะมีกลูโคสประมาณ 100 mg ในเลือด 100 cm3
v   ถ้ามีกลูโคสมากกว่า 160 mg ในเลือด 1000 cm3 จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
·       ฟรักโทส (Fructose) ละลายได้ดีมากในน้ำ จึงทำให้ตกผลึกได้ยาก   เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานมากกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง
·       กาแล็กโทส (Galactose) ไม่เกิดอิสระในธรรมชาติ ในร่างกายได้จากการย่อยแล็กโทส
·       Monosaccharide เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ที่ประกอบด้วย  C, O และ มีสูตรคือ (CH2O)n

·        โดยมีอะตอมของ ต่อกันเป็นสาย และมี Carbonyl group และ hydroxy group ต่อกับอะตอมของ C
มอนอแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก  ประกอบด้วยคาร์บอน 38 อะตอม ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซ์ให้เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เล็กลงไปอีก จึงสามารถจำแนกมอนอแซ็กคาไรด์ได้ตามจำนวนอะตอมคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบได้ดังนี้
        – ไตรโอส (triose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 3 อะตอม
         เทโทรส (tetrose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 4 อะตอม เช่น อีริโทรส (erythrose)
         เพนโทส (pentose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 5 อะตอม เช่น ไรโบส (ribose) ดีออกซีไรโบส (deoxyribose)
         เฮกโซส (hexose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 6 อะตอม ได้แก่ กลูโคส ฟรักโทส และกาแลกโทส เป็นเฮกโซสที่พบมากที่สุด
         เฮปโทส (heptose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 7 อะตอม เช่น ซีโดเฮปทูโลส (sedoheptulose)
         ออกโทส (octose) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอน 8 อะตอม 

    เมื่อพิจารณาโครงสร้างของมอนอแซ็กคาไรด์จะพบว่า ไรโบส กลูโคส กาแลกโทส มีหมู่ฟังก์ชันเป็นหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ส่วนไรบูโรส และฟรักโทสมีหมู่ฟังก์ชันเป็นหมู่คาร์บอนิล



Carbonyl group


2. Oligosaccharide

          2.1 Disaccharides ( น้ำตาลโมเลกุลคู่)
          มอลโทส (กลูโคส+กลูโคส)
พบในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลต์ที่กำลังงอก


ปฎิกิริยาเคมีของการสร้างน้ำตาลไดแซ็กคาไรด์

          ซูโครส (กลูโคส+ฟรุกโทส)
เป็นน้ำตาลที่ได้จากอ้อยและบีท ที่รู้จักกันดีคือ น้ำตาลทราย


น้ำตาลไดแซ็กคาไรด์




          แล็กโตส (กลูโคส+กาแล็กโทส)
พบในนม เรียกว่า น้ำตาลนม


                  2.2 Trisaccharides  พบในธรรมชาติ คือ แรพฟิโนส พบในน้ำตาลจากหัวบีท และอ้อย ประกอบด้วยกาแล็กโทส กลูโคสและฟรักโทสอย่างละโมเลกุล

·       น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharides) เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล

·       Covalent bond ที่เกิดขึ้น เรียกว่า Glycosidic bond


3.Polysaccharide

          เป็น คาร์โบไฮเดรต ที่มีขนาดใหญ่ประกอบด้วย monosaccharides ตั้งแต่  11 1,000 โมเลกุล ต่อกันด้วย glycosidic bone
·       ตัวอย่าง polysaccharide ได้แก่ starch, glycogen, cellulose และ chitin
  แบ่งเป็น
1.      แป้ง แบ่งออกเป็น
§  amylose มีอยู่ในแป้ง ประกอบด้วย กลูโคสหลายพันหน่วย  ไม่หวาน  ลักษณะเป็นโซ่ยาว ไม่แตกกิ่ง
§  amylopectin ประกอบด้วยกลูโคสแตกแขนงเป็นโซ่กิ่ง พบมากในเม็ดพืชผิวเป็นมัน
2.      ไกลโคเจน (glycogen) อยู่ที่กล้ามเนื้อลายและตับสัตว์ ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงาน มีโครงสร้างคล้าย amylopectin คือ มีการแตกแขนงแต่แตกแขนงมากกว่า
3.      เซลลูโลส (cellulose) เป็นสารที่พบในผนังเซลล์ของพืช     จึงเป็นสารอินทรีย์ที่มีมากที่สุดในโลก ประกอบด้วยกลูโคสเป็นโซ่ยาวประมาณ 3,000 หน่วย แต่ในคนเราไม่สามารถย่อยได้เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อย
พอลิแซ็กคาไรด์ชนิดต่างๆ

                   พอลิแซ็กคาไรด์บางชนิดเช่น ไคนิน(chitin) พบในเปลือกของพวก กุ้ง ปู ส่วนเพกทิน       (pectin) พบในผนังเซลล์พืช เช่นบริเวณเปลือกส้มโอที่มีสีขาว




ศึกษาเพิ่มเติมความรู้
https://www.youtube.com/watch?v=JJIc7C_i2wM

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สารประกอบคาร์บอนในสิ่งมีชีวิต

สารอินทรีย์

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี